วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประเพณีและวัฒนธรรมของคนยะลา

 
ประเพณีและวัฒนธรรมของคนยะลา
 
งานมหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซี่ยน
 
 
เทศบาลเมืองยะลาร่วมกับชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวา จัดให้มีการแข่งขันนกเขาชวาเสียงชิงแชมป์อาเซี่ยนเป็นงานประจำปีของจังหวัด ณ สวนขวัญเมือง วันอาทิตย์แรกของ เดือนมีนาคม ในงานจะมีขบวนแห่โดยกลุ่มผู้เลี้ยงนกเขาชวาเสียงของ ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวา เสียงของทุกจังหวัดในประเทศไทย

ปัญจะสีลัต
 

ศิลปการแสดงพื้นบ้านพื้นเมืองของจังหวัดยะลา มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบกับภาคอื่น ๆ เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านพื้นเมืองที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดยะลา 
ซีละ
 
 
 
 


เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวไทยมุสลิม คล้ายมวยไทยแสดงกันเป็นคู่ ๆ ผู้แสดงเป็น ชายล้วนแต่งกายด้วยเสื้อคอกลมแขนสั้น นุ่งกางเกงขายาว นุ่งผ้าซอแกะสั้นเหนือเข่าทับข้างนอก โพกศีรษะ การแสดงเริ่มด้วยการประโคมดนตรี จากนั้นผู้แสดงไหว้ครูพร้อมกัน เสร็จจากการต่อสู้จะร่ายรำตามแบบซีละ เพื่ออวดฝีมือและหาจังหวะเข้าทำร้ายคู่ต่อสู้ สู้กันจนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดพิชิตคู่ต่อสู้ได้เป็นอันจบการแสดง เมื่อจบการแสดงแล้วคู่ต่อสู้จะซลามัดซึ่งกันและกัน การแสดงซีละอาจจะต่อสู้กันด้วยมือเปล่า หรือต่อสู้กันด้วยกริชที่เรียกว่า "ซีละบูวอฮ์"

การเต้นร็องเง็ง 


การแสดงพื้นบ้านพื้นเมืองที่นิยมเล่นกันมาในท้องถิ่นภาคใต้ เป็นศิลปะการแสดงหมู่ประกอบด้วยผู้เต้นชายหญิงเป็นคู่กัน ความงามประการหนึ่งของการเต้นร็องเง็งคือ ความพร้อมเพรียงในการเต้น และการก้าวหน้าถอยหลังของท่าเต้น การแต่งกายในการแสดงร็องเง็ง นิยมใช้ผ้ายกสอดดิ้นเงินดิ้นทองแพรวพราว ตัดเป็นเสื้อ กางเกง แลหมวกของฝ่ายชาย และตัดเป็นเสื้อผ้านุ่งของฝ่ายหญิง เหมือนกันเป็นคณหรือคู่ละ สีตามความเห็นงานของผู้จัดแสดง สวมรองเท้าตามสมัยนิยมทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงร็องเง็ง คือไวโอลิน รำมะนา และฆ้อง

ของฝากที่น่าสนใจจากจังหวัดยะลา

 

ของฝากที่น่าสนใจจากจังหวัดยะลา


แปรรูปกล้วยหิน 
แหล่งผลิต 
: ต.ถ้ำทะลุ อ.บันนังสตา จ.ยะลา 

สถานที่ติดต่อ 
: นางจันทร์แรม ใหม่มงคล 4 ม.1 ต.ถ้ำทะลุ อ.บันนังสตา จ.ยะลา 
ปริมาณการผลิต 
: 10 กก./วัน 
ราคาจำหน่าย 
: ขายปลีก 60 – 80 บาท/กก. ขายส่ง 60 – 70 บาท/กก




ทุเรียนกวน 
แหล่งผลิต 
: ต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา 

Tuesday, October 11, 2011ทร. 0-7327-1013 
ปริมาณการผลิต 
: 560 กก./เดือน 
ราคาจำหน่าย 
: ขายปลีก 100 บาท/กก. ขายส่ง 80 บาท/กก.



ขนมปูตู
แหล่งผลิต
 : อ.รามัน จ.ยะลา 

สถานที่ติดต่อ 
: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรามัน จ.ยะลา
ราคาจำหน่าย 
: ขายปลีก 2 บาท/ลูก



กระเป๋าผ้าประดิษฐ์ด้วยมือ
แหล่งผลิต
 : ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

สถานที่ติดต่อ 
: น.ส.นูรีดา มะเระ 083-6537686 
ราคาจำหน่าย 
: 100 - 300 บาท





แหวนประดับอัญมณี 
แหล่งผลิต 
: ต.บาโงย อ.รามัน จ.ยะลา 

สถานที่ติดต่อ 
: ไม่มีข้อมูล 
ปริมาณการผลิต 
: 12 วง/วัน 
ราคาจำหน่าย 
: ขายปลีก 500 – 4,000 บาท ขายส่ง 300 – 3,500 บาท
 

ประวัติจังหวัดยะลา


ประวัติ
ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิกยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามัน ในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ


ความหมายของชื่อจังหวัด


เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา (มาเลย์: Jala, جالا) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า ยาลอ (มาเลย์: Jalor, جالور) แปลว่า "แห" ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาละ หรือ ชาลี หมายถึง "แห" หรือ "ตาข่าย"[3] มีภูเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอเมืองยะลามีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกผู้เขานี้ว่า ยะลา หรือ ยาลอ แล้วนำมาตั้งนามเมือง[3]
แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมืองซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้
เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้
 


และประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูถึงร้อยละ 66.1 นอกจากนั้นก็จะมีชาวไทยพุทธ, ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวซาไก ซึ่งตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ


จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 75.42 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 24.25 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.33 มีมัสยิดทั้งหมด 453 แห่ง, วัดในพุทธศาสนา 45 แห่ง โบสถ์คริสต์ 6 แห่งและคุรุดวาราศาสนาซิกข์ 1 แห่ง

 

 
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 56 ตำบล 341 หมู่บ้าน
-อำเภอเมืองยะลา
 
-อำเภอเบตง
 
-อำเภอบันนังสตา
 
-อำเภอธารโต
 
-อำเภอยะหา
 
-อำเภอรามัน
 
-อำเภอกาบัง


-อำเภอกรงปีนัง




 
 
 
 

 
 

สถานที่ ที่น่าท่องเที่ยวที่จังหวัดยะลา

สถานที่ ที่น่าท่องเที่ยวที่จังหวัดยะลา

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

เขื่อนบางลาง (Bang Lang Dam)
สถานที่ตั้ง : อำเภอบันนังสตา
ตั้งอยู่บ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ ห่างจากตำบลบาเจาะไปตามทางหลวงหมายเลข 410 ประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปอีก12 กิโลเมตร เขื่อนบางลางเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเอนกประสงค์แห่งแรกในภาคใต้ ที่สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 422 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรง ประกอบพิธีเปิดเขื่อน บางลาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524 บริเวณเหนือเขื่อนในบริเวณที่ตั้งของสำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มีจุดชมทิวทัศน์มองเห็นทัศนียภาพของเขื่อน อ่างเก็บน้ำและทิวเขาโดยรอบได้สวยงาม ติดต่อบ้านพักรับรอง โทร. 0 7329 9237-8 บริการล่องเรือหรือแพชมทิวทัศน์ทะเลสาบเหนือเขื่อน โทร. 0 7328 1063-66 ต่อ 2291


ถ้ำกระแชง (Krachaeng Cave)
สถานที่ตั้ง : อำเภอบันนังสตา
ตั้งอยู่ที่บ้านกาโสด ตำบลบันนังสตา ห่างจากจังหวัดยะลา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 ประมาณ 50 กิโลเมตร เลยแยกปากทางเข้าเขื่อนบางลางไปเล็กน้อย แล้วแยกซ้ายเข้าไปตามทางลูกรังอีก 1.5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพของภูเขา ธารน้ำและถ้ำลอดที่สวยงาม ในช่วงที่น้ำน้อยสามารถเดินเลาะเลียบตามลำธารลอดถ้ำไปทะลุอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นที่โล่ง โอบล้อมด้วยภูเขาและแมกไม้เขียวขจี มีทัศนียภาพสวยงาม




น้ำตกธารโต (Than To waterfall)
สถานที่ตั้ง : อำเภอธารโต 
น้ำตกธารโต อยู่ที่ตำบลถ้ำทะลุ ห่างจากตัวเมืองยะลาไปตามถนนสายยะลา-เบตง (ทางหลวง 410) กิโลเมตรที่ 47-48 มีทางแยกขวาไปอีกราว 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 7 ชั้น มองเห็นเป็นทางน้ำที่ไหลลดหลั่นมาจากภูเขาสูง มีแอ่งน้ำซึ่งสามารถเล่นน้ำได้ โดยรอบร่มรื่นไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจมากมายรวมทั้งต้นศรียะลา หรืออโศกเหลือง ซึ่งจะออกดอกชูช่อสีเหลืองสวยงามในราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นอกจากนี้ยังมี
โรงแรมที่พักในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย


 
 

น้ำตกละอองรุ้ง (Rainbow Waterfall)
สถานที่ตั้ง : อำเภอธารโต
เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่ระหว่าง เขตติดต่ออำเภอธารโต และอำเภอเบตง ห่างจากจังหวัดยะลาประมาณ 90 กิโลเมตร ใช้เส้นทางยะลา-เบตง ถนนลาดยางตลอด ก่อนถึงอำเภอเบตงประมาณ 40 กิโลเมตร จะมีถนนดินแยกเข้าน้ำตก ประมาณ 100 เมตร น้ำตกแห่งนี้มีความงดงามเกิดจากละอองน้ำตกกระทบแสงแดดมองเห็นเป็นสีรุ้ง อยู่เบื้องล่างริมภูผามีความร่มรื่นตลอดทั้งวัน

น้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (Chaloem Phra Kiat Ro Kao waterfall)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตง
ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง ใช้เส้นทางหมายเลข 410 ระหว่างอำเภอธารโตและอำเภอเบตง แยกขวาช่วงกิโลเมตร 32-33 ไปตามทางลูกรังอีก 3 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ตกลงมาจากหน้าผาสูงกว่า 30 เมตร รอบบริเวณปกคลุมไปด้วยพรรณไม้เขียวขจี

น้ำตกอินทสร (Inthasorn Waterfall)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตง
อยู่ห่างจากตัวเมืองเบตง 15 กิโลเมตร หรือเลยจากบ่อน้ำร้อนเบตงไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากภูเขา รอบบริเวณปกคลุมด้วยป่าไม้ร่มรื่น และมีแอ่งน้ำสามารถว่ายน้ำเล่นและมีบริเวณที่ให้พักผ่อนได้เช่นกัน

ป่าบาลา-ฮาลา (Bala-Hala Forest)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเบตง
เป็นป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณ สัตว์ป่าและนกหายากนานาชนิด และเป็นที่อาศัยของคนป่าเผ่าซาไก มีพื้นที่ขนาดใหญ่อยู่ในแนวรอยต่อระหว่างจังหวัดยะลาและนราธิวาส เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำในเขื่อนบางลาง นักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือชมธรรมชาติของขุนเขา ป่าไม้และสายน้ำ โดยติดต่อเช่าเรือได้ที่ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 445 ถนนสุขยางค์ อำเภอเบตง