วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตัวเมืองยะลา

ตัวเมืองยะลา
อำเภอเมืองยะลา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยะลา ชาวบ้านที่สามารถพูดภาษามลายูได้ นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "นีบง" ซึ่งเป็นชื่อต้นไม้ประเภทหนึ่งที่เคยมีอยู่มากมายภายในตัวอำเภอเมืองยะลา

ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเมืองยะลาตั้งอยู่ทางตอนบนของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

 การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 14 ตำบล 81 หมู่บ้าน ได้แก่
 


1. สะเตง  (Sateng)  -       8. หน้าถ้ำ  (Na Tham)  4 หมู่บ้าน
2. บุดี  (Budi)  8 หมู่บ้าน       9. ลำพะยา  (Lam Phaya)  7 หมู่บ้าน
3. ยุโป  (Yopo)  6 หมู่บ้าน       10. เปาะเส้ง  (Po Seng)  4 หมู่บ้าน
4. ลิดล  (Lidon)  6 หมู่บ้าน       11. พร่อน  (Phron)  6 หมู่บ้าน
5. ยะลา  (Yala)  3 หมู่บ้าน       12. บันนังสาเรง  (Bannang Sareng)  6 หมู่บ้าน
6. ท่าสาป  (Tha Sap)  6 หมู่บ้าน       13. สะเตงนอก  (Sateng Nok)  13 หมู่บ้าน
7. ลำใหม่  (Lam Mai)  7 หมู่บ้าน       14. ตาเซะ  (Ta Se)  5 หมู่บ้าน
 
การปกครองส่วนท้องถิ่น
 
ท้องที่อำเภอเมืองยะลาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลนครยะลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเตงทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองสะเตงนอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเตงนอกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลลำใหม่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลำใหม่
  • เทศบาลตำบลบุดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุดีทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลยุโป ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยุโปทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่าสาป ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสาปทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลิดล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลิดลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยะลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยะลาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลำใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลลำใหม่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าถ้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าถ้ำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำพะยาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเปาะเส้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพร่อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบันนังสาเรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบันนังสาเรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาเซะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเซะทั้งตำบล
 
 
 
 
 
 
 
 

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประเพณีและวัฒนธรรมของคนยะลา

 
ประเพณีและวัฒนธรรมของคนยะลา
 
งานมหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซี่ยน
 
 
เทศบาลเมืองยะลาร่วมกับชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวา จัดให้มีการแข่งขันนกเขาชวาเสียงชิงแชมป์อาเซี่ยนเป็นงานประจำปีของจังหวัด ณ สวนขวัญเมือง วันอาทิตย์แรกของ เดือนมีนาคม ในงานจะมีขบวนแห่โดยกลุ่มผู้เลี้ยงนกเขาชวาเสียงของ ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวา เสียงของทุกจังหวัดในประเทศไทย

ปัญจะสีลัต
 

ศิลปการแสดงพื้นบ้านพื้นเมืองของจังหวัดยะลา มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบกับภาคอื่น ๆ เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านพื้นเมืองที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดยะลา 
ซีละ
 
 
 
 


เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวไทยมุสลิม คล้ายมวยไทยแสดงกันเป็นคู่ ๆ ผู้แสดงเป็น ชายล้วนแต่งกายด้วยเสื้อคอกลมแขนสั้น นุ่งกางเกงขายาว นุ่งผ้าซอแกะสั้นเหนือเข่าทับข้างนอก โพกศีรษะ การแสดงเริ่มด้วยการประโคมดนตรี จากนั้นผู้แสดงไหว้ครูพร้อมกัน เสร็จจากการต่อสู้จะร่ายรำตามแบบซีละ เพื่ออวดฝีมือและหาจังหวะเข้าทำร้ายคู่ต่อสู้ สู้กันจนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดพิชิตคู่ต่อสู้ได้เป็นอันจบการแสดง เมื่อจบการแสดงแล้วคู่ต่อสู้จะซลามัดซึ่งกันและกัน การแสดงซีละอาจจะต่อสู้กันด้วยมือเปล่า หรือต่อสู้กันด้วยกริชที่เรียกว่า "ซีละบูวอฮ์"

การเต้นร็องเง็ง 


การแสดงพื้นบ้านพื้นเมืองที่นิยมเล่นกันมาในท้องถิ่นภาคใต้ เป็นศิลปะการแสดงหมู่ประกอบด้วยผู้เต้นชายหญิงเป็นคู่กัน ความงามประการหนึ่งของการเต้นร็องเง็งคือ ความพร้อมเพรียงในการเต้น และการก้าวหน้าถอยหลังของท่าเต้น การแต่งกายในการแสดงร็องเง็ง นิยมใช้ผ้ายกสอดดิ้นเงินดิ้นทองแพรวพราว ตัดเป็นเสื้อ กางเกง แลหมวกของฝ่ายชาย และตัดเป็นเสื้อผ้านุ่งของฝ่ายหญิง เหมือนกันเป็นคณหรือคู่ละ สีตามความเห็นงานของผู้จัดแสดง สวมรองเท้าตามสมัยนิยมทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงร็องเง็ง คือไวโอลิน รำมะนา และฆ้อง

ของฝากที่น่าสนใจจากจังหวัดยะลา

 

ของฝากที่น่าสนใจจากจังหวัดยะลา


แปรรูปกล้วยหิน 
แหล่งผลิต 
: ต.ถ้ำทะลุ อ.บันนังสตา จ.ยะลา 

สถานที่ติดต่อ 
: นางจันทร์แรม ใหม่มงคล 4 ม.1 ต.ถ้ำทะลุ อ.บันนังสตา จ.ยะลา 
ปริมาณการผลิต 
: 10 กก./วัน 
ราคาจำหน่าย 
: ขายปลีก 60 – 80 บาท/กก. ขายส่ง 60 – 70 บาท/กก




ทุเรียนกวน 
แหล่งผลิต 
: ต.ตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา 

Tuesday, October 11, 2011ทร. 0-7327-1013 
ปริมาณการผลิต 
: 560 กก./เดือน 
ราคาจำหน่าย 
: ขายปลีก 100 บาท/กก. ขายส่ง 80 บาท/กก.



ขนมปูตู
แหล่งผลิต
 : อ.รามัน จ.ยะลา 

สถานที่ติดต่อ 
: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรามัน จ.ยะลา
ราคาจำหน่าย 
: ขายปลีก 2 บาท/ลูก



กระเป๋าผ้าประดิษฐ์ด้วยมือ
แหล่งผลิต
 : ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

สถานที่ติดต่อ 
: น.ส.นูรีดา มะเระ 083-6537686 
ราคาจำหน่าย 
: 100 - 300 บาท





แหวนประดับอัญมณี 
แหล่งผลิต 
: ต.บาโงย อ.รามัน จ.ยะลา 

สถานที่ติดต่อ 
: ไม่มีข้อมูล 
ปริมาณการผลิต 
: 12 วง/วัน 
ราคาจำหน่าย 
: ขายปลีก 500 – 4,000 บาท ขายส่ง 300 – 3,500 บาท
 

ประวัติจังหวัดยะลา


ประวัติ
ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิกยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามัน ในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ


ความหมายของชื่อจังหวัด


เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา (มาเลย์: Jala, جالا) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า ยาลอ (มาเลย์: Jalor, جالور) แปลว่า "แห" ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาละ หรือ ชาลี หมายถึง "แห" หรือ "ตาข่าย"[3] มีภูเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอเมืองยะลามีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกผู้เขานี้ว่า ยะลา หรือ ยาลอ แล้วนำมาตั้งนามเมือง[3]
แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมืองซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้
เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้
 


และประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูถึงร้อยละ 66.1 นอกจากนั้นก็จะมีชาวไทยพุทธ, ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวซาไก ซึ่งตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ


จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 75.42 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 24.25 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.33 มีมัสยิดทั้งหมด 453 แห่ง, วัดในพุทธศาสนา 45 แห่ง โบสถ์คริสต์ 6 แห่งและคุรุดวาราศาสนาซิกข์ 1 แห่ง

 

 
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 56 ตำบล 341 หมู่บ้าน
-อำเภอเมืองยะลา
 
-อำเภอเบตง
 
-อำเภอบันนังสตา
 
-อำเภอธารโต
 
-อำเภอยะหา
 
-อำเภอรามัน
 
-อำเภอกาบัง


-อำเภอกรงปีนัง